กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6789
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between the school administrator’s use of the good governance principle in administration and teamwork of teachers in schools under Tak Municipality, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดามพรรณ บุตรปะสะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ธรรมรัฐ
การบริหารการศึกษา
ครู -- การทำงานเป็นทีม
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก (2) ศึกษาระดับการทำงาน เป็นทีมของครู สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก จำนวน 138 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำนวนครูของแต่ละโรงเรียนที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และการทำงานเป็นทีมของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 และ0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ (1) ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับการทางานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กับ การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6789
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_156578.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons