Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสายสุนีย์ ฉุนกล้า, 2515- ผู้แต่งth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-06-28T03:14:30Z-
dc.date.available2023-06-28T03:14:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6797-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์ (2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์ โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ ของสํานักงานสรรพากรพื่นที่สุรินทร์ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนผู้ขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ที่อยู่หน้าแบบในเขตท้องที่จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 23,319 คน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 394 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับคุณภาพการให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านพร้อมเพย์ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความประหยัด ด้านความสะดวก ด้านความรวดเร็ว ด้านความถูกต้อง ด้านความทันสมัยและด้านความเรียบง่าย ตามลําดับ (2) ประชาชนผู้ขอคืนเงิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความ คิดเห็นต่อระดับคุณภาพการให้ บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการ ให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ ของสํานักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ควรระบุสาขาธนาคารที่โอนเงินคืนภาษีเข้าบัญชี 2) ควรมีข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีประจําปีวางให้บนระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต และ 3) ควรมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกให้ประชาชนผู้ขอคืนเงินภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามีความเข้าใจข้อดีของการรับเงินคืนผ่านพร้อมเพย์ให้มากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการขอคืนภาษีอากรth_TH
dc.subjectภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาth_TH
dc.subjectบริการลูกค้าth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleคุณภาพการให้บริการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านพร้อมเพย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุรินทร์th_TH
dc.title.alternativeService quality of tax refund personal income tax via PromptPay of Surin Area Revenue Officeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe three main purposes of this study were to study: (1) the service quality level of personal income tax refund via PromptPay of Surin Area Revenue Office, (2) the comparison of service quality level of personal income tax refund via PromptPay of Surin Area Revenue Office, and (3) the guidelines for improving the service quality of personal income tax refund of Surin Area Revenue Office. This study was a quantitative research. The research population was 23,319 people who refund personal income tax at Surin Area Revenue Office. The sample size was determined by using Taro Yamane’s statistic sampling formula, which leads to the research sample of 394 people. Sampling group was random by accidental sampling. The instrument of this study was a questionnaire. The statistics used in data analysis were frequency, mean, percentage and standard deviation, t-test, f-test, and One-way ANOVA. The research findings of this study showed that: (1) the overall of a service quality level of personal income tax refund via PromptPay of Surin Area Revenue Office was at the highest level when considered in each aspect, it was found that all 6 aspects were at the highest level, which are frugality aspect, convenience aspect, rapidity aspect, accuracy aspect, modernity aspect and simplicity aspect respectively (2) the people as the study samples who refund personal income tax via PromptPay had the different personal factors for instance marriage status, education level, occupation had the different opinions toward the service quality levels of personal income tax refund via PromptPay of Surin Area Revenue Office with statistical significance at the level of 0 .0 5 , and (3) the guideline for improving the service quality of personal income tax refund via PromptPay of Surin Area Revenue Office was found 3 guidelines, that are 1) To specify the bank branch for transfers the tax refund 2) To provide an annual tax deduction information on the online system and 3) To have the proactive public relations for people who refund personal income tax to understand the advantages of getting a refund through PromptPay more than previous timeen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 162048.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons