กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6798
ชื่อเรื่อง: | การนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Social development policy implementation of sub-district administrative organizations : a case study of Sub-district Administrative Organizations in Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชินรัตน์ สมสืบ สรศักดิ์ พวงทับทิม, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ การนำนโยบายไปปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบล |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ไปปฏิบัติ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี (3) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ไปปฏิบัติ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะผู้บริหารและพนักงานทุกระดับขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 3,449 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 344 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional stratified sampling) เป็นวิธีการสุ่มที่จะต้องกำหนดจำนวนหน่วยตัวอย่างให้ได้สัดส่วน (Proportion) ตามจำนวนประชากร และเป็นการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ให้แปรผันตามขนาดของประชากร และเป็นการกำหนดอัตราส่วนของ กลุ่มตัวอย่างที่จะถูกเลือกในแต่ละชั้นภูมิ คือร้อยละ 10 % ของประชากรแต่ละชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียวและค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ยุทธศาสตร์ที่ 1 ถึง 8 อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยด้านโครงสร้าง บุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ มีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติ (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติ มี 3 ประการได้แก่ ควรสร้างวัฒนธรรมค่านิยมใหม่ในการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรพัฒนาผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และควรนำระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีมาใช้ในการพัฒนาสังคม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6798 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130835.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License