Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6800
Title: | การแข่งขันที่เป็นธรรมของธุรกิจค้าปลีกตามการรับรู้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Fair competition of retail businesses according to the consumer perception in Bangkok Metropolis |
Authors: | ยุทธนา ธรรมเจริญ ศิริชัย พงษ์วิชัย กันยาพร ปิยะพิเชษฐกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า |
Keywords: | การค้าปลีก--ไทย การแข่งขันทางการค้า ผู้บริโภค--ทัศนคติ ผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่ มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (2) ศึกษาการรับรู้และความคิดเห็นของผู้บริโภค เกี่ยวกับข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการกำกับลูแลประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมและระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (4) เปรียบเทียบการรับรู้และระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมของธุรกิจค้าปลีก จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลการวิจัยเป็นการวิชัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใชัในการสำรวจคือ ผู้บริโภคร้านค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ในการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการบ่อยครั้งกว่ากับจำนวนเงินที่สูงกว่าในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และส่วนใหญ่มีความเห็นว่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ส่วนร้านค้าปลีกสมัยใหม่จะมีความหลากหลายของสินค้ามากกว่า (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่ทราบถึงข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการกำกับดูแลประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง แต่เห็นด้วยในข้อตกลงนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่กำหนดเวลาเปิด-ปิดของร้านสะดวกซื้อมากที่สุด (3) ลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกันมีความแตกต่างในพฤติกรรมที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเติมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ยกเว้น เพศ อาชีพ พี้นที่อยู่อาศัย และ ความคิดเห็นที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของร้านค้าปลีกดั้งเดิมไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นอาชีพส่วนร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันยกเว้น เพศ และพี้นที่อยู่อาศัย (4) ลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกันจะไม่แตกต่างกันในการรับรู้ และความคิดเห็นที่มีต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมของธุรกิจค้าปลีก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6800 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112203.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License