กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6802
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Service quality of outpatient healthcare services for insured persons under section 33 social security insurance of Klaeng Hospital in Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำเนียร ราชแพทยาคม อรทัย จะตุเทน, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | บริการลูกค้า บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล ประกันสังคม การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสาหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับคุณภาพการให้บริการสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง และ (4) เสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับคุณภาพการให้บริการสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) แนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการ คือ ควรปรับปรุงพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ให้พูดจาสุภาพ ยิ้มแย้ม การเอาใส่ ผู้รับบริการ ควรจัดให้มีเครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความเพียงพอต่อการให้บริการ และควรเพิ่มปริมาณที่จอดรถ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6802 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License