กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6804
ชื่อเรื่อง: กระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operational process of student help-care system of schools in Mae Lan district, Pattani educational service area, zone 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นรา สมประสงค์
ถนอมทรัพย์ นูนน้อย, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
นักเรียน--การดูแล
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
ความช่วยเหลือทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 (2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอแม่ลานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษาของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 โดยภาพรวมและทุกองค์ประกอบ มีคุณภาพปานกลาง เมื่อพิจารณาตามขนาดโรงเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่มีระดับคุณภาพดี โรงเรียนขนาดกลางมีระดับคุณภาพปานกลาง และโรงเรียนขนาดเล็กมีระดับคุณภาพน้อย 2) ระดับคุณภาพกระบวนการดำเนินงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนทุกขนาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางไม่แตกต่างกันในองค์ประกอบด้านการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ3) ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ โรงเรียนยังไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบมีน้อยและไม่ค่อยมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง และข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ควรให้มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง แต่งตั้งบุคลากรมาเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีภารกิจเฉพาะในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6804
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_86306.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons