กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6811
ชื่อเรื่อง: สภาพและแนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conditions and guidelines for the development of the dual vocational training system of Institute of Vocational Education Northern Region 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชลี จงเจริญ
ทรายทอง สมเป้า, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาชีวศึกษา--การบริหาร
การศึกษา--หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ประชากร ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 จำนวน 69 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 297 คน ได้มาโดยการศึกษาตามสัดส่วนและสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98, .95 และ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) สภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศการฝึกอาชีพ ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การวัดผลและประเมินผล การบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และการจัดหลักสูตร ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ภาพรวมควรมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศการฝึกอาชีพ ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การวัดผลและประเมินผล การบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และการจัดหลักสูตร ตามลำดับ และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวัดผลและประเมินผล การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศการฝึกอาชีพ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6811
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161422.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons