กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6825
ชื่อเรื่อง: การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk management in procurement operation of Schools under Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization, Group 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
ทินกร ชิณรัตน์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเสี่ยง
พัสดุ--การบริหาร
พัสดุ--การบริหารความเสี่ยง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุและประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป และครูผู้ปฏิบัติงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 2 รวมทั้งสิ้น 50 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการระบุ และประเมินความเสี่ยง และแนวทางการจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงานพัสดุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ในการระบุความเสี่ยง พบว่า ด้านการจัดซื้อจัดจ้างมีความเสี่ยงเกี่ยวกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานพัสดุมีไม่เพียงพอสูงเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนด้านการบริหารพัสดุมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการไม่ดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดออกจากบัญชีพัสดุสูงเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับผลการประเมินความเสี่ยง พบว่าความเสี่ยงในการปฏิบัติงานพัสดุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดซื้อจัดจ้างมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความเสี่ยงเกี่ยวกับบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานพัสดุมีไม่เพียงพอสูงกว่าความเสี่ยงเรื่องอื่น ๆ ส่วนด้านการบริหารพัสดุมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการไม่ดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดออกจากบัญชีพัสดุสูงกว่าความเสี่ยงเรื่องอื่น ๆ และ 2) แนวทางการจัดการความเสี่ยง พบว่า ในเรื่องบุคลากรผู้ปฏิบัติงานพัสดุมีไม่เพียงพอเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยลดความเสี่ยงด้วยการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานพัสดุ ส่วนการไม่ดำเนินการ จำหน่ายพัสดุที่ชำรุดออกจากบัญชีพัสดุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้วยการดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุด หมดความจำเป็นในการใช้งานออกจากบัญชีพัสดุ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6825
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_162023.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons