Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6829
Title: การวิเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างปี พ.ศ. 2537-2549
Other Titles: An analysis of research findings on administrative behaviors in basic education institutions between B.E. 2537-2549
Authors: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธวัลรัตน์ วินิตวัฒนคุณ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์งาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อจัดหมวดหมู่ ประเด็นเนื้อหาวิจัย ปีพ.ศ.ที่วิจัย ประเภทงานวิจัย และข้อค้นพบเพิ่มเติมในองค์ ความรู้ส่วนนี้เพื่อประโยชน์ทางการบริหารการศึกษา งานวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์คือวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ แขนงวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างปี พ.ศ.2537-2549 จํานวน 52 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบการวิเคราะห์งานวิจัยที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยใช้ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) ด้านลักษณะทั่วไปของงานวิจัยพบว่า จํานวนผู้สําเร็จการศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา แผน ก.มีมากกว่าแผน ข. รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนารูปแบบสํารวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูมากที่สุด ส่วนใหญ่มีขนาดกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 201-400 คน และจํานวนกลุ่ม ตัวอย่าง 2 กลุ่มมีมากที่สุด การกําหนดกลุ่มตัวอย่างนิยมใช้ตารางเครจซีและมอร์แกนและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้วิจัยนิยมสร้างแบบสอบถามมาตรประมาณค่าของลิเคอร์ทเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ พื้นฐานนิยมใช้วัดค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้การทดสอบค่าที่และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนมากที่สุด ด้านคุณภาพเครื่องมือวัดความตรงตามเนื้อหาและโครงสร้าง คุณภาพเครื่องมือ วิจัยด้านความเที่ยง ความเชื่อมั่น แบบอิงกลุ่มที่วัดความคงที่ภายในใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาดมากที่สุด (2) ผลการวิเคราะห์ด้านเนื้อหาพบว่าก่อนปฏิรูปการศึกษางานวิจัยระหว่างปี พ.ศ.2537 – 2541 จะวิจัยพฤติกรรม การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเปรียบเทียบหาค่าความสัมพันธ์ของภาระงานทั้ง 4 ด้านกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนหรือความพึงพอใจของครูผู้สอนเป็นหลัก ผู้บริหารยังมิได้นําทฤษฎีการบริหารแนวใหม่ มาใช้เช่น หลักการมีส่วนร่วม การบริหารคุณภาพ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารเชิงกลยุทธ์ หลังปฏิรูปการศึกษางานวิจัยระหว่างปี พ.ศ.2542 2549 มีประเด็นวิจัยเพิ่มเติมจากเดิมได้แก่ การ หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นํากับประสิทธิผลการบริหาร คุณภาพการศึกษา คุณภาพนักเรียน การ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แรงจูงใจและความฉลาดทางอารมณ์ ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร ความ ต้องการให้ผู้บริหารเป็นผู้นําวิชาการและมีพฤติกรรมการบริหารตามเกณฑ์มาตรฐานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง การบริหาร ในฐานะนิติบุคคล การบริหาร โดยจัดการเรียนรู้ด้านผู้เรียนเป็นสําคัญ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น มา เริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางคุณธรรมและจรรยาวิชาชีพ ข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนถึงงานวิจัยที่เป็นไป ในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของรัฐที่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารเป็นแบบการกระจายอํานาจไปสู่ สถานศึกษา ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6829
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_122406.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons