กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6829
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างปี พ.ศ. 2537-2549
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of research findings on administrative behaviors in basic education institutions between B.E. 2537-2549
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
ธวัลรัตน์ วินิตวัฒนคุณ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์งาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจัดหมวดหมู่ ประเด็นเนื้อหาวิจัย ปีพ.ศ.ที่วิจัย ประเภทงานวิจัย และข้อค้นพบเพิ่มเติมในองค์ความรู้ส่วนนี้เพื่อประโยชน์ทางการบริหารการศึกษา งานวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ วิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ แขนงวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างปี พ.ศ.2537-2549 จํานวน 52 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบการวิเคราะห์งานวิจัยที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการ วิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) ด้านลักษณะทั่วไปของงานวิจัยพบว่า จํานวนผู้สําเร็จการศึกษาแขนงวิชาบริหารการศึกษา แผน ก.มีมากกว่าแผน ข. รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนารูปแบบสํารวจกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูมากที่สุด ส่วนใหญ่มีขนาดกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 201 - 400 คน และจํานวนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มมีมากที่สุดการ กําหนดกลุ่มตัวอย่างนิยมใช้ตารางเครจซีและมอร์แกนและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้วิจัยนิยมสร้างแบบสอบถามมาตรประมาณค่าของลิเคอร์ทเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติพื้นฐานนิยมใช้วัดค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้การทดสอบค่าที่และการวิเคราะห์ความแปรปรวนมากที่สุด ด้านคุณภาพเครื่องมือวัดความตรงตามเนื้อหา และโครงสร้าง คุณภาพเครื่องมือวิจัยด้าน ความเที่ยง ความเชื่อมั่น แบบอิงกลุ่มที่วัดความคงที่ภายในใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาดมากที่สุด (2) ผลการวิเคราะห์ด้านเนื้อหาพบว่าก่อนปฏิรูปการศึกษางานวิจัยระหว่างปี พ.ศ.2537 – 2541 จะวิจัยพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเปรียบเทียบหาค่าความสัมพันธ์ของภาระงานทั้ง 4 ด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหรือความพึงพอใจของครูผู้สอนเป็นหลัก ผู้บริหารยังมิได้นําทฤษฎีการบริหารแนวใหม่มาใช้เช่น หลักการมีส่วนร่วม การบริหารคุณภาพ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารเชิงกลยุทธ์หลังปฏิรูปการศึกษางานวิจัยระหว่างปี พ.ศ.2542 2549 มีประเด็นวิจัยเพิ่มเติมจากเดิมได้แก่ การหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นํากับประสิทธิผลการบริหาร คุณภาพการศึกษา คุณภาพนักเรียน การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แรงจูงใจและความฉลาดทางอารมณ์ ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร ความ ต้องการให้ผู้บริหารเป็นผู้นําวิชาการและมีพฤติกรรมการบริหารตามเกณฑ์มาตรฐานวงจรคุณภาพของเดมมิ่งการบริหาร ในฐานะนิติบุคคล การบริหาร โดยจัดการเรียนรู้ด้านผู้เรียนเป็นสําคัญ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางคุณธรรม และจรรยาวิชาชีพ ข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนถึงงานวิจัยที่เป็นไปในแนว ทางการปฏิรูปการศึกษาของรัฐ ที่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารเป็นแบบการ กระจายอํานาจไปสู่สถานศึกษา ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6829
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_122406.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons