กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/682
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between personal factors, job empowerment, and performance in service quality improvement activities of staff nurses, Community Hospitals in the Inspection Region 13
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
จำรูล จันทร์หอม, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลชุมชน--การบริหาร
บุคลากรโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลประจำการ และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ทำนายการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชิพระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13 จำนวน 18 แห่ง จำนวน 392 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้นจากโรงพยาบาลทั้งหมด 72 แห่ง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีคำความเชื่อมั่น ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและด้านการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ เท่ากับ .82 และ .92 ตามลำลับ ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 319 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.4 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไค-สแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยพทุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13 มีอายุเฉลี่ย 33.57 ปี ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 8.02 ปี ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 99.7 และผ่านการฝึกอบรมด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ ร้อยละ 86.8 ภาพรวมของการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานอยู่ในระดับสูง ส่วนการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการอยู่ในระดับสูง ถึงสูงมาก (2) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( .001) เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า การได้รับอำนาจและการได้รับโอกาสมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ (<.001) และ (3) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานทั้งด้านการได้รับอำนาจ การได้รับโอกาส และวุฒิการศึกษา สามารถร่วมกันพยากรณ์ การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 38.8 (R2= .388)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/682
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
98023.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons