กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6842
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ในจังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factor affecting performance efficiency of the officers of Sub-district Administrative Organizations in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
มานิต ศุทธสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยอดยิ่ง รักสัตย์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ลำปาง -- ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ในจังหวัด ลำปาง 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ในจังหวัด ลำปาง การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรเป็นพนักงานส่วนตำบล ในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลำปาง จำนวน 746 คน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน โดยสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การคำนวณหา ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient ) และ ค่าไคสแควร์ (Chi-Squre Test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลใน จังหวัดลำปาง ที่เป็นปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับตำแหน่ง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้ง 11 ปัจจัย มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความพึงพอใจในหน้าที่ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ ความมั่นคงใน การทำงาน รายได้และสวัสดิการ การรับรู้ต่อความสำเร็จในงานที่รับผิดชอบ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การ ได้รับการอบรมและพัฒนา นโยบายและการบริหารงานและการปกครองและการบังคับบัญชา โดยทั้งหมดมี นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านการบริหารทั้ง 3 แบบ ได้แก่ การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การ บริหารเชิงกลยุทธ์และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธ์ิทั้งหมดมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.01 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ใน จังหวัดลำปาง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ อัตรากำลังของ พนักงานส่วนตำบลไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรภายในหน่วยงาน ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ ต้องการให้บริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด รองลงมาคือการ เสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6842
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133802.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons