กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6843
ชื่อเรื่อง: | การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนบน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administration in accordance with good governance of Rubber Authority of the Upper Southern of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย มณีรัตน์ ไกรสิทธิ์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำ ผู้บริหาร--การบริหาร การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลของการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนบน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริ มาณและเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงาน และลูกจ้างในการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนบน จํานวน 230 คน โดยสําหรับการวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 147 คน คํานวณจากสูตรของ ทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือการศึกษาที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยสถิติสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน และสําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 11 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนาแบบกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และด้านระยะเวลาปฏิบัติงาน และด้านสังกัดที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ส่วนปัจจัยด้านเพศ ด้านการศึกษา และด้านตําแหน่งงาน ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล แตกต่างกัน (3) ปัจจัยบทบาทผู้นำองค์กรด้านบทบาทในการเป็นแบบอย่างที่ดี และบทบาทการสร้างความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลทุกด้าน สําหรับข้อเสนอแนะพนักงานมีความเห็นว่าผู้นําควรให้ความสําคัญกับการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน และบริหารงานด้วยหลักนิติธรรม คุณธรรม และความโปร่งใส ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พนักงานส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้บริหารและพนักงานควรให้ความสําคัญกับหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า และผู้นําควรให้ความสําคัญกับบทบาทการสร้างความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน บทบาทการในชี้นํา และบทบาทการเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรให้สําเร็จตามเป้าหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6843 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_158798.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License