กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6845
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People's participation in the developing development plan of Sub-district Administrative Organizations in Khamsakaesang District, Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นราธิป ศรีราม พระสุริยา โสภาพ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปภาวดี มนตรีวัต |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--การวางแผน--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา(2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ประชากรได้แก่ ตัวแทนครัวเรือน 9,928 ครัวเรือน หรือ 9,928 คน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ในระดับน้อย (2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาสำคัญได้แก่ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจใน การจัดทำแผนพัฒนา ไม่มีเวลาเพราะต้องประกอบอาชีพ และแผนงาน/โครงการที่จัดทำไม่สอด คล้อองกับความต้องการของประชาชน สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรพิจารณาแผนงาน/โครงการให้ มีความรอบด้านและรองรับกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างทั่วถึง และคณะผู้บริหารต้องพยายามเข้าถึง และทำความเข้าใจความต้องการและปัญหาของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนามากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6845 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
133805.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License