กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6846
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนายุทธศาตร์ของสหกรณ์โคนมกุยบุรี จำกัด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategy development of Kuiburi Dairy Cooperative Ltd., Kuiburi District in Prachuap Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำเนียร ราชแพทยาคม ภัคธนัช พรมบุญแก้ว, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์โคนม--การจัดการ สหกรณ์โคนม--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและบริบทของสหกรณ์โคนมกุยบุรีจำกัด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์ของสหกรณ์โคนมกุยบุรีจำกัด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนายุทธศาสตร์ของสหกรณ์ โคนมกุยบุรี จำกัด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (4) พัฒนายุทธศาสตร์ของสหกรณ์โคนมกุยบุรี จำกัด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษาจำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2กลุ่ม คือ บุคลากร ภาครัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาชีพการเลี้ยงโคนม จำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่สหกรณ์โคนมกุยบุรี จำกัด จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสารและการสังเกตการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม สำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพและบริบทของสหกรณ์โคนมกุยบุรีที่พบคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโครงการนมโรงเรียนทั้งระบบ ทั้งด้านการผลิต โดยยกระดับฟาร์มตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม และด้านยกระดับคุณภาพน้ำนมดิบโดยให้ปริมาณ ของแข็งรวมมีมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งในปี การศึกษาที่ 2/2560 สหกรณ์โคนม กุยบุรี ยังดำเนินงานไม่ผ่านเกณฑ์ ปัจจุบัน สหกรณ์โคนมกุยบุรีแก้ไขปัญหาโดยการส่งนมไปขายโรงงานแปรรูปเพื่อผลิตเป็นนมพาณิชย์ทั้งหมด สหกรณ์มี การปรับปรุงคุณภาพน้ำนมและส่งเสริมมาตรฐานฟาร์ม แต่ขาดการวางแผนและเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนา (2) ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ สไตล์การทำงานของผู้บริหาร ระบบงาน บุคลากรในหน่วยงาน ทักษะองค์การ ค่านิยมองค์การ ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย นโยบายจากภาครัฐ ต้นทุนการผลิต ปัจจัยทางสังคม เทคโนโลยี (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา ยุทธศาสตร์ คือ แผนพัฒนาสหกรณ์ที่มีไม่ครอบคลุมสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ผู้บริหารขาดการให้ความสำคัญ กับการพัฒนายุทธศาสตร์ (4) การพัฒนายุทธศาสตร์ของสหกรณ์โคนมกุยบุรีในอนาคตควรดำเนินการใน 4 ด้าน คือ ด้านแรก ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนาธุรกิจรวบรวมน้ำนมดิบให้ได้มาตรฐานสากล ด้านที่สอง ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนาระเบียบสหกรณ์ให้ทันสมัย ด้านที่สาม ด้านคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนาด้านการผลิตและคุณภาพน้ำนมดิบให้ได้มาตรฐาน และด้านที่สี่ ด้านการพัฒนาองค์การ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์ให้มีระบบบริหารจัดการที่เข้มแข็ง และยุทธศาสตร์ การส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการจัดการฟาร์มโคนมให้เป็นฟาร์มมาตรฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6846 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_158800.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License