กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6848
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล : กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอ-เอ็นเนอร์ยี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A feasibility study on increasing the Production Capacity of a Biomass Power Plant : a case study of Dan Chang Bio-Engrgy Power Plant
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมาลี ตั้งภักดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: โรงไฟฟ้า--แง่สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความพร้อมด้านเทคนิคที่มีผลต่อการเพื่ม กำลังการผลิดของโรงไฟฟ้าชีวมวล (2) อัตราผลตอบแทนของโครงการการเพื่มกำลังการผลิตของ โรงไฟฟ้าชีวมวล (3) ผลกระทบต่อชุมชนสิ่งแวดลัอมในการเพื่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยประชากรที่ศึกษามี 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้บริหารของ โรงไฟฟ้าด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี ที่มีจำนวน 3 คนและกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื่นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าฯ จำนวน 13 หมู่บ้าน 3,518 ครัวเรือน การวิจัยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารของ โรงไฟฟ้าฯ ทั้งหมด 3 คน ในกลุ่มของประชาชนได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 358 ครัวเรือนที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน ข้อมูลที่ใด้ในการวิจัยเป็น ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เครื่องมือที่ใด้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์สำหรับสัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อ ศึกษาความพร้อมด้านเทคนิคและผลตอบแทนของโครงการ และแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นประชาชนเพื่อศึกษาผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใด้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์ค่าตอบแทนของการเพื่มกำลัง การผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล โครงการโรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอ-เอ็นเนอร์ยีและระยะเวลาในการคืน ทุน ผลการวิจัยพบว่า (1)โรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอ-เอ็นเนอร์ยี มีความพร้อมด้านเทคนิคโดย มีโครงการจ้างบริษัท ALSTOM POWER ประเทศออสเตรเลีย ชื่งเป็นบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงและ ได้รับการยอมรับไปทั้วโลกในด้านการออกแบบและก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ รวมทั้งมีการจัดหา เครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยใชัในการผลิตกระแสไฟฟ้า และมีแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง (2) อัตราผลตอบแทนของโครงการเพื่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล โครงการโรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอ-เอ็นเนอร์ยี (IRR) คือ 15.16% และมีระยะเวลาในการคืนทุน 6.29 ปี (3) ในด้านผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นในระดับมากที่สุดลคือการ เพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญต่อชุมชน ในระดับ รองลงมาคือไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านเสียง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6848
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112208.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons