กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6849
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมทางหลวงชนบท : กรณีศึกษาพื้นที่สำนักทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the success of the technical training to personnel of the local governments of the Department of Rural Roads : a case study of Bureau of Rural Roads 1 (Pathumthani)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรณ์ ปลอดมณี, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- พนักงาน -- การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการจัดฝึกอบรมด้านช่างให้กับ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษาความแตกต่างของความสำเร็จของการจัดฝึกอบรมด้านช่าง ให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัด ฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) เสนอแนะกลยุทธ์การพัฒนาการจัดฝึกอบรม ด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ และผสมผสานกับการวิจัยเชิง คุณภาพ ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านช่าง ที่จัดโดยกรม ทางหลวงชนบท ในเขตพื้นที่สำนักทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี) ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง จำนวน 383 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเป็นผู้บริหารและ บุคลากรด้านช่างที่ผ่านการฝึกอบรม จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 196 แห่ง แห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9303 และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และบุคลากรด้านช่าง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิตค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยวิธีขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการจัดฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ของกรมทางหลวงชนบท มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีความต้องการในการพัฒนาบุคลากรด้านช่าง แตกต่างกับเทศบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) สมรรถนะ และ ตัวแปร 3 วงกลม ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 59.5 (4) กลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดฝึกอบรมด้านช่างให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ควรปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ จัดทำสื่อออกเผยแพร่แบบออนไลน์ ส่งวิทยากรไป แนะนำในพื้นที่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการฝึกอบรม สร้างเครือข่าย และช่องทางในการติดต่อกับช่างโดยตรง และ จัดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6849
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133902.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons