กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6872
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of Thai Equity Fund investment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยานี ภาคอัต
ภัทรพล เลาหุไรกุล, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชยงการ ภมรมาศ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
กองทุนรวม--ไทย
ตราสารทุน--ไทย
การวิเคราะห์การลงทุน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารทุน (2) วิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน ของผู้บริหารกองทุนรวมตราสารทุน (3) ประเมินผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมตราสารทุน การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรคือกองทุนรวมตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ดำเนินการต่อเนื่องตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง วันที่ 31 กรกฏาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 230 กองทุน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าสินทรัพย์สุทธิรายเดือนของกองทุนรวมตราสารทุน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกองทุนรวมตราสารทุน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 เดือน สำหรับระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม 2553 ถึง กรกฏาคม 2555 การวิจัยดำเนินตามลำดับดังนี้ 1) คำนวณผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุน และผลตอบแทนตลาด 2) ประมาณความเสี่ยงของ กองทุน 3) วิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารทุน 4) วิเคราะห์ความสามารถในการคัดสรรหน่วยลงทุน และความทันต่อสภาวะการณ์ทางตลาดของผู้จัดการกองทุนโดยใช้ตัวแบบของ Mazuy (1968) 5) ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุน โดยใช้มาตรวัดของชาร์ป เทรเนอร์ และ เจนเซน ผลการวิจัยพบว่า (1) กองทุนรวมตราสารทุนจำนวน 57 กองทุนให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนตลาด โดยแต่ละกองทุนให้อัตราผลตอบแทนประมาณ ร้อยละ 3.00 ในขณะที่อัตรผลตอบแทนตลาดเท่ากับ ร้อยละ 1.74 เมื่อพิจารณาเรื่องความเสี่ยงพบว่ากองทุนจำนวน 110 กองทุนมีความเสี่ยงต่า กว่าความเสี่ยงตลาดโดยค่าดัชนีเบต้าเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 ขณะที่กองทุนที่เหลือ 120 กองทุน มีความเสี่ยงสูงกว่าความเสี่ยงตลาดโดยค่าดัชนีเบต้าสูงกว่า 1 (2) ผู้จัดการกองทุนรวมตราสารทุนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 62.17 ดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกในการจัดการกองทุนรวม ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.5 ใช้กลยุทธ์แบบผสม ร้อยละ 3.91 ใช้กลยุทธ์เชิงรับ และอีกร้อยละ 20.42 ไม่ชัดเจนว่าใช้กลยุทธ์ใด ในการจัดการกองทุนรวม (3) เมื่อใช้มาตรวัดของชาร์ป เทรเนอร์ และ เจนเซน ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนจะเห็นได้ว่ากองทุนเปิดบัวแก้ว 2 กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม กองทุนเปิดอเบอร์ดีนสมอลแค็พ และไทยไพรมฟันด์เป็นกองทุนที่แสดงผลการดำเนินงานดีที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6872
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134599.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons