Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6872
Title: การวิเคราะห์การลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนไทย
Other Titles: Analysis of Thai Equity Fund investment
Authors: กัลยานี ภาคอัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชยงการ ภมรมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทรพล เลาหุไรกุล, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
กองทุนรวม -- ไทย
ตราสารทุน -- ไทย
การวิเคราะห์การลงทุน -- ไทย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสาร ทุน (2) วิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน ของผู้บริหารกองทุนรวมตราสารทุน (3) ประเมินผลการดำเนินงาน ของ กองทุนรวมตราสารทุน การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรคือกองทุนรวมตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยที่ดำเนินการต่อเนื่องตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง วันที่ 31 กรกฏาคม 2555 มี จำนวนทั้งสิ้น 230 กองทุน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าสินทรัพย์สุทธิราย เดือนของกองทุนรวมตราสารทุน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกองทุนรวมตราสารทุน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 เดือน สำหรับระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม 2553 ถึง กรกฏาคม 2555 การวิจัยดำเนินตามลำดับดังนี้ 1) คำนวณผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุน และ ผลตอบแทนตลาด 2) ประมาณความเสี่ยงของ กองทุน 3) วิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวม ตราสารทุน 4) วิเคราะห์ความสามารถในการคัดสรรหน่วยลงทุน และความทันต่อสภาวะการณ์ทางตลาดของ ผู้จัดการกองทุนโดยใช้ตัวแบบของ Mazuy (1968) 5) ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุน โดย ใช้มาตรวัดของชาร์ป เทรเนอร์ และ เจนเซน ผลการวิจัยพบว่า (1) กองทุนรวมตราสารทุนจำนวน 57 กองทุนให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตรา ผลตอบแทนตลาด โดยแต่ละกองทุนให้อัตราผลตอบแทนประมาณ ร้อยละ 3.00 ในขณะที่อัตรผลตอบแทนตลาด เท่ากับ ร้อยละ 1.74 เมื่อพิจารณาเรื่องความเสี่ยงพบว่ากองทุนจำนวน 110 กองทุนมีความเสี่ยงต่า กว่าความเสี่ยง ตลาดโดยค่าดัชนีเบต้าเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 ขณะที่กองทุนที่เหลือ 120 กองทุน มีความเสี่ยงสูงกว่าความเสี่ยงตลาด โดยค่าดัชนีเบต้าสูงกว่า 1 (2) ผู้จัดการกองทุนรวมตราสารทุนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 62.17 ดำเนินกลยุทธ์เชิง รุกในการจัดการกองทุนรวม ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.5 ใช้กลยุทธ์แบบผสม ร้อยละ 3.91 ใช้กลยุทธ์เชิงรับ และอีก ร้อยละ 20.42 ไม่ชัดเจนว่าใช้กลยุทธ์ใด ในการจัดการกองทุนรวม (3) เมื่อใช้มาตรวัดของชาร์ป เทรเนอร์ และ เจนเซน ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนจะเห็นได้ว่ากองทุนเปิดบัวแก้ว 2 กองทุนเปิดบัว หลวงธนคม กองทุนเปิดอเบอร์ดีนสมอลแค็พ และไทยไพรมฟันด์เป็นกองทุนที่แสดงผลการดำเนินงานดีที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6872
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134599.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons