กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6898
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of factors effecting mobile phone buying decision in Bangkok Metropolitan Area / Study of factors effecting mobile phone buying decision in Bangkok Metropolitan Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจนแสง สุรชัย สุขพาสน์เจริญ, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี โทรศัพท์เคลื่อนที่--การจัดซื้อ.--ไทย--กรุงเทพฯ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในการติดต่อสื่อสารและตลาดที่มีการขยายตัวก่อนข้างสูงมาก อีกทั้งยังมีหลากหลายตรายี่ห้อสินค้า หลากหลายรุ่น หลายราคา รวมถึงช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดที่มีมากมาย วัตถุประสงค์การทำวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 % ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Samping) และใช้เครื่องทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ได้แก่รูปแบบตัวเครื่อง/ขนาด/ความสวยงาม และตรายี่ห้อ ด้านราคาได้แก่ ราคาอุปกรณ์เสริม รองมาเป็นค่าบริการหลังการขาย ด้านช่องทางการจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับสถานที่ตั้งร้านค้าและมาตราฐานการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญได้แก่ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แคดตาล็อค ป้ายโฆษณา รองมาเป็นกิจกรรมแนะนำสินค้าในด้านความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุดคลกับปัจจัยการตลาต พบว่า ความแตกต่างกันในด้านเพศ สถานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นกับส่วนประสมการตลาด ซึ่งได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด แตกต่างกัน ยกเว้นเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านช่องทางการจำหน่ายไม่แตกต่างกัน และสถานภาพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่ายไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6898 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_100837.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License