กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6903
ชื่อเรื่อง: การบริหารการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษากรณี จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development administration of basic education management : a case study of Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป
ลินจง มากเพ็ง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
การจัดการศึกษา--ไทย--เชียงราย
การพัฒนาการศึกษา--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การบริหารการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และวิธีการจัดการศึกษา (2) วิเคราะห์ปัญหาในการบริหารการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของจังหวัดเชียงใหม่ (3) เสนอแนวทางในการบริหารการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและ การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบและการวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านโครงสร้าง มีการยุบโครงสร้างองค์กรในส่วนภูมิภาค ด้านอำนาจหน้าที่ มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้หน่วยงานระดับล่างมากขึ้น ด้านวิธีการจัดการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงโดยการเรียนการสอนยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง งบประมาณมาจากการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกเพิ่มขึ้น และมีหน่วยงานกลางในการบริหารงานบุคคล (2) ปัญหาที่สำคัญ คือ ด้านโครงสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีพื้นที่และสถานศึกษาในความรับผิดชอบมากเกินไป ด้านอำนาจหน้าที่ การกระจายอำนาจยังไม่ตรงตามความต้องการของหน่วยปฏิบัติ ด้านวิธีการจัดการศึกษา ขาดการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา (3) แนวทางการบริหารการพัฒนาที่สำคัญ คือ ด้านโครงสร้าง ควรปรับโครงสร้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้รับผิดชอบเพียง 1 จังหวัด ด้านอำนาจหน้าที่ ควรกระจายอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านวิธีการจัดการศึกษา ควรลดงานเอกสารและปรับเปลี่ยนระบบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นสำนักงานไร้กระดาษ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6903
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135401.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons