กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6915
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Motivation at work of Office of Industrial Economices Officials |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาวิน ชินะโชติ ทิพาพร ยิ้มวิลัย, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (2) เปรยบเทียบแรงจูงใจในในการปฏิบัติงานของ บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจำแนกตามลักษณะบุคคล และ (3) เปรียบเทียบระดับ แรงจูงใจของบุคลาการสายงานวิชาการ และบุคลากรสายงานสนับสนุนnการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ จำนวน 148 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตร ของ เครซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 107 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียวและการทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดด้วยวิธี แอลเอสดี ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในภาพรวมทั้ง 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยคํ้าจุน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จของงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านความก้าวหน้าของงาน ส่วนปัจจัยคํ้าจุน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการปกครองบังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านผลประโยชน์ตอบแทนและสวัสดิการ (2) การเปรียบเทียบ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จำแนกตามลักษณะบุคคล พบว่า ตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ (3) ระดับแรงจูงใจของบุคลากรสายงานวิชาการ และบุคลากรสายงานสนับสนุน มีแรงจูงใจในการปฏินํติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6915 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
157841.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License