Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6916
Title: การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง
Authors: นิตยา ภัสสรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทยา โสภณสรัญญา, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการศึกษา -- ไทย -- อ่างทอง
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
การศึกษาอิสระ -- การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทและระดับการระดมทรัพยากรเพื่อการจัด การศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) เปรียบเทียบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา จําแนกตาม ประเภทของโรงเรียน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 6 คน ครู 74 คน รวม 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง เครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับประเภทและระดับการปฏิบัติในการระดมทรัพยากรเพื่อการ จัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา รวม 5 ด้าน คือ การระดมทรัพยากรบุคคล การระดมทรัพยากร ธรรมชาติ การระดมทรัพยากรทางสังคม การระดมทรัพยากรทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น และการระดม ทรัพยากรทางการเงิน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ การทดสอบสมมุติฐานใช้ระดับความมีนัยสําคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและรายค้านอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน (2) เมื่อเปรียบเทียบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา จําแนกตามประเภทของ โรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านในทุกประเภท และเมื่อเปรียบเทียบรายด้าน ระหว่างประเภทของโรงเรียนพบว่า แตกต่างกัน 2 ด้าน คือ การระดมทรัพยากรทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นและ การระดมทรัพยากรทางสังคม กล่าวคือ การระดมทรัพยากรทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นของโรงเรียนมัธยม ศึกษาประจําจังหวัด มีค่าคะแนนสูงกว่าของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําอําเภอและโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจําตําบล แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําอําเภอกับโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจําตําบล สําหรับการระดมทรัพยากรทางสังคม พบว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําจังหวัด มีค่าคะแนนสูง กว่าของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําอําเภอและโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําตําบล มีค่าคะแนนสูงกว่าของ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจําอําเภอ และ (3) ข้อเสนอแนะในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา ได้แก่ การจัดจ้างครูต่างชาติ พัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันรับผิดชอบทรัพยากร ทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น จัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ขอรับการสนับสนุนจาก หน่วยงานที่รับผิดชอบ และการรู้จักดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ให้ดูดีอยู่เสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6916
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_127159.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons