กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/691
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัย จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the performance of cervical carcinoma screening at health centers in Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑาทิพย์ อุดคณฑี, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ปากมดลูก--มะเร็ง--การวินิจฉัย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัยจังหวัดสุพรรณบุรี (2) ลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (3) การรับรู้บทบาทหน้าที่ (4) ปัจจัยพื้นฐานการบริหาร (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัย จังหวัดสุพรรณบุรี และ (7) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัยชังหวัดสุพรรณบุรีทุกคน จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา แสดงด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิชัยพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัยจังหวัดสุพรรณบุรีผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 58.0 (2) ลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 38.8 ปี สถานภาพสมรสคู่ และมีประสบการณ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานีอนามัยเฉลี่ย 6.99 ปี (3) การรับรู้บทบาทหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับสูง (4) ปัจจัยพ้นฐานการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับสูง (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง (6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ และ (7) ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญคือกำลังคน และงบประมาณไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะคือ หัวหน้าสถานีอนามัยควรสนับสนุนกำลังคนแก่เครือข่ายสถานีอนามัย และสามารถใช้เงินบำรุงของสถานีอนามัยได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/691
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108744.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons