Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6924
Title: | การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเฉลี่ยสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 |
Other Titles: | Academic administration of schools with high O-NET mean scores under Uttaradit Primary Education Service Area Office 2 |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ นิตยา วรสร้อย, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการศึกษา--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเฉลี่ยสูง สังกัด สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 และ 2) เพื่อศึกษาแนว ทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเฉลี่ยสูง ในปีการศึกษา 2557 และ 2558 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 15 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบ ถามแบบมาตรประมาณค่า ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเฉลี่ยสูง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการ และมีการนำผลการประเมินการใช้หลักสูตรไปใช้ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรเพิ่มการเรียนรู้โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง 3) ด้านการวัดผลประเมินผล ควรจัดให้มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เน้นเพิ่มข้อสอบแบบอัตนัยเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรกำหนดให้ครูจัดทำวิจัยอย่างง่ายภาคเรียนละ 2 เรื่อง 5) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ควรส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่อ และนวัตกรรมเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ 6) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรจัดทำศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วม 7) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ควรจัดให้มีการนิเทศแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกัลยาณมิตร ในหลากหลายรูปแบบ 8) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรดำเนินการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันให้กับคณะครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6924 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161164.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License