กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6925
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักบริหาร กรณีศึกษา : กรมบัญชีกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of needs for human resource development of the executive case study : The General Comtroller [i.e. Comptroller] Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญศรี พรหมมาพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิญญา พิมพะ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
กรมบัญชีกลาง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนัก บริหารในสังกัดกรมบัญชีกลาง (2) เปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักบริหารตั้งแต่ ระดับชำนาญการ หรือชำนาญงาน ขึ้นไป ในสังกัดกรมบัญชีกลางจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษา ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักบริหารในกรมบัญชีกลาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ข้าราชการผู้ดำรงตา แหน่งนักบริหารในสังกัด กรมบัญชีกลางจำนวน 391 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 276 คน ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยการ สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า (1) นักบริหารในสังกัดกรมบัญชีกลางมีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการสูงสุดอันดับหนึ่ง คือ ด้านการพัฒนา รองลงมา อันดับสองด้าน การฝึกอบรม และ มีความต้องการด้านการศึกษาในระดับปานกลาง ตามลำดับ (2) นักบริหารที่มีเพศ อายุ และ ระดับตำแหน่ง ต่างกันมีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักบริหารที่มีระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติราชการในกรมบัญชีกลางต่างกันมีความต้องการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน (3) ความคิดเห็นต่อปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมบัญชีกลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีปัญหาในระดับมาก คือ ด้านการพัฒนา และระดับปานกลาง คือ ด้านการ ฝึกอบรม และด้านการศึกษา ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6925
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137715.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons