Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6926
Title: การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร
Other Titles: Risk management in secondary schools in Phichit Province
Authors: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
นัยรัตน์ ชัยสุข, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารความเสี่ยง
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตรระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตรของผู้ปฏิบัติงานสถานศึกษา 4 กลุ่มงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร จำนวน 30 สถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 150 คน ครูผู้สอน จำนวน 240 คน รวมทั้งสิ้น 390 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) สภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมพบว่าความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน โดยเรียงระดับที่มีความเสี่ยงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ และความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตรระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวมไม่พบความแตกต่าง และ (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร ของผู้ปฏิบัติงานสถานศึกษา 4 กลุ่มงาน ในภาพรวมพบว่าทั้ง 4 กลุ่มงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเห็นว่ามีความเสี่ยงในระดับปานกลางถึงระดับน้อย โดยเรียงระดับความเสี่ยงจากมากไปหาน้อย คือความคิดเห็นของกลุ่มงานบริหารวิชาการ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานบริหารงบประมาณ และกลุ่มงานบริหารทั่วไป ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6926
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159560.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons