กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6936
ชื่อเรื่อง: | การนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Good governance implementation in management of Sub-district municipality in Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดุสิต เวชกิจ พระมหาจรูญศักดิ์ ชูยงค์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ เทศบาลตำบล--ไทย--นครศรีธรรมราช--การบริหาร ธรรมรัฐ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาล มาปฏิบัติ ในการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัด นครศรีธรรมราช และ (3) เสนอแนะแนวทางดำเนินการที่จะส่งผลให้การนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติใน การบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 39 แห่ง รวม 801 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนประชากร จำนวน 267 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลมีอยู่ 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติซึ่งประกอบด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสาเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหาร จัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (2) ปัจจัยความพร้อมของระบบงาน ปัจจัยค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยความ เหมาะสมด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยความชัดเจนของยุทธศาสตร์และปัจจัยการมีส่วนร่วมของ ข้าราชการมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหารจัดการของ เทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถอธิบายรวมกันได้ร้อยละ 65.5 และ(3) ข้อเสนอแนะ แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัด นครศรีธรรมราช ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นที่สำคัญ คือ ควรกำหนดยุทธศาสตร์ด้าน ธรรมาภิบาล ให้ชัดเจน ควรส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และควรเปิดโอกาส ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6936 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
138830.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License