Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/694
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสุขศึกษาของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 3 |
Other Titles: | Factors relating to the performance according to health education standard criteria of primary care units in the Public Health Inspection Region 3 |
Authors: | เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ ฉลอง งามขำ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การบริหารสาธารณสุข--ไทย การส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชน--การบริหาร |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล และภาระงาน ความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบงานมาตรฐานสุขศึกษา เกี่ยวกับ (2) ความรู้ความสามารถด้านมาตรฐานงานสุขศึกษา (3) ปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข (4) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน และ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสุขศึกษาของศูนย์สุขภาพชุมชน ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 3 การดำเนินงานใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจในประชากรผู้รับผิดชอบงานมาตรฐานสุขศึกษาทุกคนจำนวน 145 คน ใน 4 จังหวัด คือ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที มีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับดี คือ ในช่วง 0.85 - 0.93 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และอัตราการตอบกลับร้อยละ 88.96 การวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกปัจจัยที่ศึกษาตามกลุ่มผู้รับผิดชอบงานที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ การพรรณนาข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้การทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคล ผู้รับผิดชอบงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 39 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรสคู่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข และอายุราชการน้อยกว่า 15 ปี สำหรับภาระงาน กลุ่มผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความเหมาะสมของสัดส่วนงาน ไม่แน่ใจกับความเหมาะสมของจำนวนประชากร จำนวนหมู่บ้าน และผู้รับบริการที่รับผิดชอบ แต่เห็นด้วยกับความเหมาะสมของการตั้งบ้านเรือน ผู้รับบริการ และความร่วมมือของชุมชน (2) กลุ่มผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสุขลักษณะของตน (3) สำหรับปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขกลุ่มผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ในสัดส่วนสูงสุดไม่แน่ใจกับความเพียงพอของจำนวนบุคลากร งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ขณะที่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความเพียงพอของการได้รับการนิเทศติดตาม แต่กลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ไม่แน่ใจ (4) สำหรับปัจจัยเชิงกลุ่มผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่แน่ใจกับการได้รับการยกย่อง แต่เห็นด้วยกับความสำเร็จของงาน ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ และโอกาสก้าวหน้าจากการดำเนินงาน สำหรับปัจจัยค้ำจุน กลุ่มผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่แน่ใจกับความเป็นธรรมของการปกครองบังคับบัญชา สภาพการทำงาน แต่เห็นด้วยกับความเหมาะสมของสัมพันธภาพการทำงาน เงินเดือนและค่าตอบแทน ความมั่นคงในงาน นโยบายและการบริหาร และสถานภาพการทำงาน และ (5) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับการนิเทศติดตามและการมีนโยบายและการบริหารอย่างจริงจังมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/694 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114053.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License