Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6941
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปภาวดี มนตรีวัตth_TH
dc.contributor.authorปองทิพย์ นาคินทร์, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-30T01:49:53Z-
dc.date.available2023-06-30T01:49:53Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6941en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาใน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเ มืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (3) ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (4) ข้อเสนอแนะแนวทางสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี จำนวน 2,818 หลังคาเรือน กลุ่มตัวอย่าง 350 คน ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ กำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก นอกจากนั้นยังประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบ สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ที่เป็นผู้นาชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของตลาดเก่าอ่างศิลา จำนวน 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ความตระหนักถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยว (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดเก่าอ่างศิลาอยู่ระดับมาก โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่สำคัญได้แก่ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ยังไม่เพียงพอ เช่น ปริมาณถังขยะ ห้องน้ำสาธารณะและที่จอดรถ (4) ข้อเสนอแนะใน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลาดเก่าอ่างศิลา ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาตลาดเก่าอ่างศิลาควร บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความรักหวงแหนและความภาคภูมิใจทรัพยากรการท่องเที่ยว ควรจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตลาดเก่าอ่างศิลาต่อเนื่องทุกปีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว--ไทย--ชลบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน--ไทย--ชลบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeCommunity Participation in sustainable tourism development : a case study of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality, Chon Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study (1) level of community participation in sustainable tourism development of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality, Chon Buri province (2) factors affecting community participation in sustainable tourism development of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality, Chon Buri province (3) public opinion on problems and obstacles in sustainable tourism development of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality, Chon Buri province (4) recommendations to enhance community participation in sustainable tourism development of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality Chon Buri province. Population consisted of 2,818 household representatives living in Angsila, Muang district, Chon Buri province, from which 350 samples were drawn via Yamane calculation. Proportion and convenient random sampling were applied. Other than this, samples of 15 derived from community leaders and those involved with tourism development of Angsila Old Market, were also included for interview purpose. Those concluded 365 samples. Instruments used were questionnaire and interview. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. Research results revealed that (1) community participation in sustainable tourism development of Angsila Old Market was at high level (2) factors affecting community participation with 0.05 level of statistical significance, were people's realization of public benefits from the development, and economic motivation (3) problems and obstacles in sustainable tourism development of Angsila Old Market were high, particularly on tourism management with major problem on inadequate facilities such as garbage bins, public toilets and parking space (4) recommendations were: there should be a serious integration of tasks in developing activities among agencies involved; feeling of love of one's own community, together with civil engagement and pride of community tourism resources should be enhanced; the locals should be trained to correct and strengthen their understanding on sustainable tourism management, and the government should continuously allocate budget to support the development of Angsila Old Market every fiscal year.en_US
dc.contributor.coadvisorรชพร จันทร์สว่างth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139372.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons