กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6941
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Community Participation in sustainable tourism development : a case study of Angsila Old Market, Muang Angsila Municipality, Chon Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาวดี มนตรีวัต ปองทิพย์ นาคินทร์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รชพร จันทร์สว่าง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยว--ไทย--ชลบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน--ไทย--ชลบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาใน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเ มืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (3) ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี (4) ข้อเสนอแนะแนวทางสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี จำนวน 2,818 หลังคาเรือน กลุ่มตัวอย่าง 350 คน ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ กำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก นอกจากนั้นยังประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบ สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ที่เป็นผู้นาชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของตลาดเก่าอ่างศิลา จำนวน 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดเก่าอ่างศิลาในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ความตระหนักถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยว (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดเก่าอ่างศิลาอยู่ระดับมาก โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่สำคัญได้แก่ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ยังไม่เพียงพอ เช่น ปริมาณถังขยะ ห้องน้ำสาธารณะและที่จอดรถ (4) ข้อเสนอแนะใน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลาดเก่าอ่างศิลา ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาตลาดเก่าอ่างศิลาควร บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความรักหวงแหนและความภาคภูมิใจทรัพยากรการท่องเที่ยว ควรจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตลาดเก่าอ่างศิลาต่อเนื่องทุกปี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6941 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139372.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License