กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6951
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา สำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to the success of knowledge management Bangkok metropolitan administration : a case study of Southern Bangkok Cluster
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เยาวรัชย์ พรประสิทธิ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตกลุ่ม กรุงเทพใต้ (2) ความแตกต่างของระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทาง และมาตรการต่างๆ ในการทำให้การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ ให้ประสบ ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบไม่ทดลอง โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการสานักงานเขตทั้ง 10 สำนักงานเขตในกลุ่มกรุงเทพใต้ จำนวน 1,234 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตาม แนวคิดของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดให้ เลือกตอบ และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ รวมทั้งผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารสำนักงานเขต ที่ นำการจัดการความรู้ไปใช้ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ อยู่ใน ระดับสูงมากกว่าร้อยละ 80 (2) ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของแต่ละสำนักงานเขตในกลุ่มกรุงเทพใต้มีความ แตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพใต้ จำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ กระบวนการจัดการความรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ทีมงาน ด้านการจัดการความรู้ สมรรถนะของบุคลากร ภาวะผู้นำความชัดเจนของแผนและกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่สนับสนุนการจัดการความรู้ โดยทั้ง 7 ตัวแปร สามารถอธิบายตัวแปรตามที่มี ความสัมพันธ์กันได้ร้อยละ 74.50 ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ ผู้บริหารควรส่งเสริม ผลักดัน และสนับสนุนทรัพยากรเกี่ยวกับการจัดการความรู้ มีการจัดตั้งทีมงานด้านการจัดการความรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้กับข้าราชการ และพิจารณาสมรรถนะของข้าราชการ เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร พัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6951
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140319.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons