กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6953
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tourists’ behaviors and marketing mix factors towards the community tourism in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินวัตร บุญขันธ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: นักท่องเที่ยว--ไทย--กระบี่
การท่องเที่ยว--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--กระบี่
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการ ท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ (2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ และ (3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรโดยไม่ทราบขนาด ได้จำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัด กระบี่ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อน เดินทางมาท่องเที่ยวโดยทางเครื่องบิน ได้รับข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่แหล่งท่องเที่ยวจากสื่ออินเทอร์เน็ต จำนวนครั้งที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัด กระบี่เป็นครั้งแรก เดินทางท่องเที่ยวช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์/เทศกาล และจะแนะนำให้เพื่อนหรือ คนรู้จักเดินทางท่องเที่ยวอีก (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการ ท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ของนักท่องเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่าย และส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย อยู่ในระดับมากด้วย และ (3) ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ของนักท่องเที่ยว ตามปัจจัยด้านส่วนบุคคล พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6953
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158815.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons