กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6955
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยทางใบของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting decision making to buy a foliar fertilizer of mangosteen growers in Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนภัทร ประดับทอง, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ปุ๋ย--การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำคัญของการตัดสินซื้อปุ๋ยทางใบ ของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด (2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาด ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยทางใบ ของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด (3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อปุ๋ยทางใบของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยทางใบ ของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด จำนวน 7,110 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้ 400 ครัวเรือน เลือกตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการตัดสินซื้อปุ๋ยทางใบของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด โดยภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์ปุ๋ยทางใบ ของ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด โดยภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัด จำหน่าย ตามลำดับ (3) เกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด ที่มีเพศ สถานภาพ และอายุ แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อปุ๋ยทางใบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยส่วนประสม การตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านช่องทางการตลาด และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อปุยทางใบของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จังหวัดตราด ได้รอยละ 45.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดบ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6955
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158816.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons