Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6964
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธรรมรส โชติกุญชร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorปรีชา คัมภีรปกรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสังวาลย์ วังแจ่ม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-30T03:45:26Z-
dc.date.available2023-06-30T03:45:26Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6964-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามสภาพที่เป็นจริง กับความคาดหวังตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน (2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามสภาพที่เป็นจริง กับความคาดหวังตามความคิดเห็นของครูปฏิบัติการสอน (3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอน เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามสภาพที่เป็นจริงกับความคาดหวัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลำพูน โดยแบ่งโรงเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดจากตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่าที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 127 คน ครูปฏิบัติการสอน 254 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Licert) ตามสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังในการบริหารงานวิชาการตามภารกิจ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยมีค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. สภาพที่เป็นจริง ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนทั้งในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ปฏิบัติได้ในระดับมาก ส่วนด้านความคาดหวัง ผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงคาดหวังให้มีการบริหารงานวิชาการในระดับมากสวนผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำคาดหวังให้มีการบริหารงานวิชาการในระดับมากที่สุด 2. สภาพที่เป็นจริง ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูปฏิบัติการสอน พบว่า ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความคิดเห็นว่า มีการบริหารงานวิชาการในระดับปานกลาง ส่วนครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีความคิดเห็นว่า มีการบริหารงานวิชาการในระดับมาก ส่วนด้านความคาดหวังนั้นครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำต่างก็คาดหวังให้มีการบริหารงานวิชาการในระดับมาก 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนกับครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงทั้งสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวัง พบว่า ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทั้งสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังก็พบว่า ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพฤติกรรมการบริหารth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ลำพูนth_TH
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา--การบริหาร.--ไทย--ลำพูนth_TH
dc.titleสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังในการบริหาร งานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็น ของผู้บริหารโรงเรียน และครูปฎิบัติการสอน สังกัดสำนักงานการปฐมศึกษาจังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeAcademic administrative as perceived by school administrators and teacthers under The Office of Lamphun Provincial Primary Educationth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_35707.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons