กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6975
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบโซล่าเซลล์ที่อาคารในพื้นที่เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The feasibility study of solar cell system installing at building in Bhumilbol Dam, Samngao District in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฏฐ์พัชร์ ทรัพย์ศรี, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ไฟฟ้าแสงอาทิตย์
ไฟฟ้า--ต้นทุนการผลิต.
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)วิเคราะห์ค้านความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ ค้านพื้นที่ และค้านเทคนิค และ (2) ประเมินความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ในเขื่อนภูมิพล สังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.สามเงา จ.ตาก การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์และคำนวณ จากข้อมูลงบประมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละอาคาร ณ เขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ปี 2555-2560 และขอมูลที่เกี่ยวกับการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ โดยทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านกายภาพ ด้านภูมิศาสตร์ และด้านเทคนิค และด้านการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนการลงทุนภายใน ระยะเวลาการคืนทุน และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า (1) ศักยภาพเชิงเทคนิคของระบบผลิตไฟฟาโซล่าเซลล์บนหลังคาอาคาร เขื่อนภูมิพล โดยคัดเลือกอาคาร จากทั้ง 28 อาคารในพื้นที่เขื่อนภูมิพล อาคารที่ได้รับคัดเลือกผ่าน เกณฑ์การคัดกรองทั้งทางด้านความเข้มโซลาเซลล์และด้านพื้นที่ ทำให้มีพื้นที่การติดตั้งที่เหมาะสมและการเข้าถึงความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ผลที่ได้พบว่าผลรวมของศักยภาพด้านเทคนิค จำนวน 5 อาคารที่ศึกษา อยู่ที่ 2,551.80 kWh/day (2) ด้านการเงินที่อัตราส่วนลด 7% พบว่า มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 204,562.19 บาท ระยะเวลาการคืนทุนจำนวน 8-9ปี อัตราผลตอบแทนภายใน 8-9% อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.129 และเมื่อเปรียบเทียบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานโซล่าเซลล์และความต้องการการใช้ไฟฟ้าของ ทุกอาคารที่ศึกษา พบว่าระบบผลิตไฟฟาโซล่าเซลล์สามารถลดการใช้พลังงานร้อยละ 14.96% ในปีแรก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปีต่อๆไป แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาของ 5 อาคาร ที่คัดเลือกในพื้นที่เขื่อนภูมิพล มีความคุ้มค่าการลงทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิและผลตอบแทนภายในมีค่า เชิงบวก และระยะเวลาคืนทุนสั้น ทำให้การติดตั้งระบบผลิตไฟฟาพลังงานโซล่าเซลล์เป็นทางเลือกในการ ช่วยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่น่าสนใจสำหรับเขื่อนภูมิพลแห่งนี้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160433.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons