กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6985
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational commitment of Co-Pilot of Thai Airways International Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรพงษ์ อินทรสงเคราะห์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
ความผูกพันต่อองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ 3) ศึกษาแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ นักบินที่ปฏิบัติการบินกับเครื่องบินแบบ Boeing 777 ในตำแหน่งนักบินผู้ช่วย จำนวน 230 คน ขนาดตัวอย่างได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งด้านความเชื่อ การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ด้านความเต็มใจและการทุ่มเทความพยายามเพื่อเป้าหมายขององค์การ และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งสมาชิกภาพขององค์การ 2) ปัจจัยด้านลักษณะงานและปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของนักบินผู้ช่วย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่สำคัญ ได้แก่ ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม ควรมีการถ่ายทอดประสบการณ์ทางการบินให้กับนักบินที่อาวุโสน้อยกว่าและเพิ่มบทบาทให้มากยิ่งขึ้น และควรลดขั้นตอนและระยะเวลาที่จะได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกในการเลื่อนตำแหน่งไปสู่การเป็นนักบินผู้บังคับอากาศยานหรือกัปตันให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6985
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140610.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons