Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/701
Title: | ความชอบธรรมของการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 |
Other Titles: | Legitimacy of the selection of senators under the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ สมชาย เจริญกิจ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วุฒิสภา--การสรรหาบุคลากร |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวุฒิสภาทั้งที่เป็นอำนาจหน้าที่ ของวุฒิสภาและที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่ได้บัญญัติหรือปรากฏในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หนังสือ ตําราและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (2) เพื่อวิเคราะห์ความชอบธรรม เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มีความชอบธรรมตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ ที่พึงประสงค์อันพึงบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสารโดยการค้นคว้าและรวบรวมหนังสือ ตํารา เอกสาร รัฐธรรมนูญบทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับวุฒิสภา ทั้งในส่วนอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา และที่มาของสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทยและต่างประเทศได้แก่ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอินเดีย ผลการวิจัยพบว่าวิธีการได้มาซึ่งวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2550 ยังคงมีความชอบธรรมกับสถานการณ์ ของประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะสมาชิกส่วนที่ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนย่อมมีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย ส่วนสมาชิกที่มาจากการสรรหาสามารถแก้ปัญหาเรื่องความไม่เป็นกลางของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมดได้ แต่ควรแก่เรื่องคณะกรรมการสรรหา โดยให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรสาขาอาชีพตามภาคต่าง ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่สมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภากันเอง แล้วเสนอให ้วุฒิสภาคัดเลือกและให้ความเห็นชอบให้ เหลือจำนวนที่แท้จริงในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งวิธีการนี้มีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยเพราะได้ สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นตัวแทนที่ แท้จริงของสาขาอาชีพภาคนั้น ๆ ที่มีความยึดโยงกับกลุ่มสาขาอาชีพและประชาชน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/701 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128407.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License