กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7011
ชื่อเรื่อง: | คู่มือการดำเนินกิจกรรมนวัตกรรม : กรณีศึกษาบริษัทวีนิไทย จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Manual of innovative activity proceeding : a caes study of Vinythai Public Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวีนา ตั่งโพธิสุวรรณ สุดใจ ถิ่นขาม, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมทางธุรกิจ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทฯ เติบโตรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันได้ บริษัทฯจึงได้รณรงค์ส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อพัฒนาองค์การให้เหนือหรือได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาเพื่อรวบรวมขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมด้านนวัตกรรมและข้อเสนอแนะของบริษัทฯให้เป็นคู่มือการปฏิบัติงาน ของบริษัทวีนิไทย จำกัด (มหาชน) ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง และการศึกษาข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องทางด้านกิจกรรมนวัตกรรม เช่น รายงานการประชุม ข้อมูลข้อเสนอแนะและนวัตกรรม รวมถึงศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของบริษัทฯ รายงานประจำปีและข้อมูลจากระบบออนไลน์ บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานกิจกรรมฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยได้ส่งเสริมกิจกรรมนวัตกรรมให้เป็นเวทีหรือองค์กรแห่งการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังใช้ระบบการทำงานข้ามสายงาน ประกอบด้วยคณะกรรมการจากตัวแทนแต่ละฝ่าย ร่วมกันดำเนินกิจกรรม ข้อเสนอแนะหรือนวัตกรรมจากแต่ละฝ่ายซึ่งมีขั้นตอนทั้งภายในฝ่าย และขั้นตอนระดับบริษัทฯ จนถึงขั้นตอนการสุดท้ายในการให้คะแนนนและรางวัลนวัตกรรมที่ชนะเลิศ โดยได้รับเป้าหมายของกิจกรรมนวัตกรรมและข้อเสนอแนะประจำปี สำหรับปี พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมาพบว่า บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องจำนวนข้อเสนอแนะและนวัตกรรม การส่งเสริมมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าภายในและภายนอก รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในเรื่องของการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะและนวัตกรรมให้เสร็จยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เล็กน้อย ดังนั้นจึงควรมีสิ่งจูงใจให้กับพนักงานในการทำกิจกรรมนวัตกรรมและข้อเสนอแนะมากกว่าให้เป็นเป้าหมายของบริษัทฯเพียงอย่างเดียว เช่น การให้ผลตอบแทนสำหรับข้อเสนอแนะที่ให้มูลค่าผลตอบแทนสูง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7011 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112589.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License