Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorมานิต ศุทธสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสิริกานต์ กองทอง, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-30T07:54:40Z-
dc.date.available2023-06-30T07:54:40Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7021-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร พลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาความคิดเห็นต่อระดับ ของการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ศึกษาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช (4) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (5) ระบุปัญหาและเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ก) ตัวแทนของอาสาสมัครพลังงานชุมชนจาก 16 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการวางแผนพลังงานชุมชน จำนวน 216 คน ซึ่งการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และ ข) ตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการวางแผนพลังงานชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ไคสแควร์ สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัจจัยด้านการเป็นนักพัฒนา ปัจจัยความคาดหวัง ปัจจัยแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านการเป็นนักพัฒนา ปัจจัยความคาดหวังปัจจัยแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชน (4) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า เพศที่ต่างกัน และระยะเวลาที่นานกว่าในการเป็นอาสาสมัครพลังงานชุมชนมีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนปัจจัยด้านการเป็นนักพัฒนา ปัจจัยความคาดหวัง และปัจจัยแรงจูงใจที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวม แตกต่างกัน ในขณะที่ความรู้ ความเขา้ ใจด้านพลังงานของอาสาสมัครพลังงานชุมชนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (5) ปัญหาของการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชน คือ การขาดการติดต่อสื่อสารการประชาสัมพันธ์ การขาดความร่วมมือการขาดความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานรวมถึงการมองพลังงานเป็นเรื่องไกลตัวส่วนข้อเสนอแนะคือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารการประสานงาน และประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานที่เป็นจริง ให้ความรู้ และแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนแก่อาสาสมัครพลังงานชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectชุมชน -- การใช้พลังงานth_TH
dc.subjectการใช้พลังงาน -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพลังงานชุมชนในโครงการวางแผนพลังงานชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeParticipation of energy community's volunteers towards the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to: (1) study opinions toward factors relating to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province; (2) study opinion regarding achievement level of participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province; (3) study factors relating to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province; (4) study comparison factors affecting to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province; and (5) indicate problems and recommendations to a higher achievement of the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province. This study was conducted by both quantitative and qualitative method. Samples were categorized into 2 groups. Those were (1) 216 representatives selected from energy community’s volunteers who held membership in the local energy planning project from 16 communities. Sample size applied Taro Yamane’s formula calculation at the validity level of 95% and sampling method were proportional stratified random sampling (2) 16 samples for in-depth interview selected by purposive random sample group. Samples were executives of local administration organization, community leaders and concerned officials of local administration organization who were responsible for the local energy planning project. Instruments for collecting data were questionnaire and in-depth interview questionnaire. Statistics used for quantitative analysis were both descriptive statistics such as frequency, mean, percentage, standard deviation and inferential statistics such as Chi-square Test, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, t-Test, one-way ANOVA. Qualitative analysis used content analysis. The results revealed that: (1) opinion toward factors relating to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province i.e developer, expectation and motivation factors was at high level; (2) opinion towards achievement level of the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province were at high level; (3) developer, expectation and motivation factors had positive relationship at medium level to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province at the overall image; (4) considering comparison factors effecting to the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province, it was found that the difference in gender, duration of longer period of being energy community’s volunteers affected to the level of participation in local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province. The difference identified by developer, expectation and motivation factors brought about the participation of energy community’s volunteers to the local energy planning project in Nakhon Si Thammarat Province differently. Knowledge and understanding regarding energy issues had no relationship to the participation; and (5) problems of the participation of energy community’s volunteers towards local energy planning project were the lack of communication, collaboration, knowledge and public relations on energy issue as well as the consideration that energy issue was lengthy from daily life. The recommendations were responsible organization should increase channels of communication, coordination, public relation and provide more precise information and ways of implementation concerning to energy to the volunteers clearlyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
141012.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons