กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7027
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employee's attitude towards hospital accreditation : a case study of Phangnga Hospital / Employee's attitude towards hospital accreditation : a case study of Phangnga Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชลี แก้วทอง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โรงพยาบาลพังงา--ข้าราชการและพนักงาน--ทัศนคติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลพังงา--การรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของของพนักงานในโรงพยาบาลพังงา ที่มีต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของพนักงานในโรงพยาบาลพังงา ต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (3) เพื่อเสนอแนะผลการศึกษาต่อผู้บริหาร โรงพยาบาลพังงา และผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของโรงพยาบาลพังงา จำนวน 229 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 533 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนดติของพนักงานต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบด่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานมีทัศนคติต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พนักงานมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย ในด้านเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของการพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลด้านเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ด้านเกี่ยวกับการดำเนินงานในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ด้านเกี่ยวกับผลที่โรงพยาบาลได้รับจากการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และมีทัศนดติอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในด้านเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ประสบผลสำเร็จ (2) พนักงานชายและหญิงมีทัศนคติต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่ต่างกัน มีทัศนคติต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7027
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_112601.pdf3.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons