กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7029
ชื่อเรื่อง: | การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of good governance principles in administration of vocational college administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Vocational Education |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กล้า ทองขาว ประชา ฤทธิผล, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--นครศรีธรรมราช ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา ธรรมรัฐ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ตามตําแหน่ง (3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ตามขนาดสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 48 คน เป็นครูผู้สอน จํานวน 155 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่เกี่ยวกับความคิดเห็น 6 หลักคือหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรมมีการใช้อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส ตามลําดับ (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูผู้สอนเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ในภาพรวมและรายด้าน ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา ที่มีขนาดต่างกันเกี่ยวกับการใช้หลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษานครศรีธรรม ราช ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7029 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_113507.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License