กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7034
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศาของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา-ปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | 360 degress performance appraisal of provincial electricity authority, Yala and Pattanee Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ, สุมารินทร์ รงคะศิริ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--พนักงาน การทำงาน--การประเมิน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดยะลา-ปัตตานี ต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 ในด้านการมีหลักการและเหตุผล ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน ด้านความทันสมัยและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ด้านความยุติธรรม และด้านความพอใจโดยรวมของพนักงานที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา 2.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและทัศนคติที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา – ปัตตานี ประชากร ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้ส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา - ปัตตานี ขนาดตัวอย่าง 210 คน ได้มาจากตาราง Yamane ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากัน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน T-test, F-test ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 โดยเรียงลำดับแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีหลักการและเหตุผล ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน ด้านความทันสมัยและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ด้านความยุติธรรม และด้านความพอใจโดยรวมของพนักงานที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา 1) พนักงานที่มีเพศต่างกันให้ความสำคัญต่อทัศนติต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) พนักงานที่มีอายุ อายุการทำงาน และระดับการศึกษาที่ต่างกันให้ความสำคัญต่อทัศนคติต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7034 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112612.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License