Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7048
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผ้าลูกไม้กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between marketing mix factors of lace fabric and consumer behavior in Bangkok
Authors: ลัดดา วัจนะสาริกากุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนัท กวีสุนทรเสนาะ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผ้าลูกไม้--การตลาด.--ไทย
การศึกษาอิสระ--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผ้าลูกไม้ในกรุงเทพมหานคร (2) พฤติกรรมการซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานครและ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผ้าลูกไม้กับพฤติกรรมการซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาครั้งนี้ประชากรคือ ประชาชนที่ซื้อผ้าลูกไม้ในกรุงเทพมหานครกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกรณีไม่ทราบขนาดประชากรของ Cochran ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความสำคัญมากต่อการตัดสินใจซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภค โดยด้านราคามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (2) พฤติกรรมการซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภค ส่วนใหญ่เคยซื้อผ้าลูกไม้มาก่อน โดยซื้อผ้าลูกไม้ที่ผลิตในประเทศผลิตจากเส้นใยธรรมชาติมีลวดลายขนาดไม่เล็กมากเฉดสีชมพู ฟ้า และ ครีม ราคาไม่เกิน 2,000 บาท และสามารถนำไปใช้ได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่ซื้อผ้าลูกไม้เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าหรือชุดเสื้อผ้าต่าง ๆ โดยซื้อจากร้านขายผ้าหรือขายเสื้อผ้าทั่วไปตามความสะดวกเพื่อนสนิทและพนักงานขายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผ้าลูกไม้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผ้าลูกไม้ของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7048
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_153026.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons