Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7060
Title: | การดำเนินงานนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี |
Other Titles: | Internal supervision of school administrators in Ban Bueng 2 Cluster Schools under the office of Chon Buri Primary Education Service Area 1 |
Authors: | เข็มทอง ศิริแสงเลิศ ปิยะนุช แย้มปราศัย, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ชลบุรี การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการดำเนินงานนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต1 และ (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน ในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ประชากรผู้ให้ข้อมูล คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคาถามแบบมาตรประมาณค่า และคำถามแบบปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานนิเทศภาย ในของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการพัฒนาครูเป็นรายบุคคล ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้านการพัฒนากลุ่มและด้านการพัฒนาหลักสูตรตามลำดับ และ (2) ปัญหาที่พบในการดำเนินงานนิเทศภายใน คือ ด้านการพัฒนาครูเป็นรายบุคคล โรงเรียนขาดผู้นิเทศที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการนิเทศ ด้านการพัฒนากลุ่ม ภายในกลุ่มมีความแตกต่างกันทางความคิด ครูมีภาระงานมาก ไม่สามารถจัดเวลาในการรวมกลุ่มได้ด้านการพัฒนาวิชาชีพ กิจกรรมในการพัฒนาวิชาชีพครูมีน้อย ครูขาดประสบการณ์ในการเขียนผลงานเชิงวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ครูขาดความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนน้อยและยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรมีการเสริมแรงและให้กำลังใจแก่ครูพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือครูอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอย่างเป็นระบบ ควรจัดระบบการสื่อสารระหว่างกลุ่มครู ควรลดภาระงานของครู ควรจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพให้หลากหลายยิ่งขึ้นและส่งเสริมทักษะการเขียนผลงานเชิงวิชาการ ควรมีการให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรโดยให้ครูมีส่วนร่วม และควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7060 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_138661.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License