Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7061
Title: สภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในทัศนะครู
Other Titles: The operational state of school development strategies toward ASEAN community of education expansion school under Rayong Primary Education Service Area Office 2 as perceived by teachers
Authors: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญาพร ศรีประเสริฐ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงเรียน -- การบริหาร
การพัฒนาการศึกษา -- ไทย -- ระยอง
การบริหารการศึกษา
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในทัศนะของครู (2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามภูมิหลังของครู ได้แก่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2 จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในทัศนะของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่มี วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัญหาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ โครงสร้างเวลาเรียนเน้นพัฒนาทักษะอาชีพมากกว่าด้านอาเซียน ผู้บริหารไม่ได้นิเทศติดตามการใช้หลักสูตร ครูไม่เข้าใจกรอบเนื้อหาความเป็นอาเซียน และไม่ได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผู้บริหารไม่ร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายประชาคมอาเซียน สถานศึกษาขาด สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และครูขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาควรพัฒนาผู้บริหารและครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอาเซียนและสามารถบูรณาการนำสู่ชั้นเรียนได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งให้มีการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ และควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสู่ประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและพัฒนาครูและนักเรียนอย่างหลากหลายช่องทางเพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7061
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156575.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons