Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7062
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ |
Other Titles: | Factors affecting knowledge management of Mahidol Adulyadej Naval Dockyard, Royal Thai Naval Dockyard |
Authors: | ชินรัตน์ สมสืบ เกรียงไกร หงษ์ขาว, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ กรมอู่ทหารเรือ. อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช การบริหารองค์ความรู้ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การดำเนินการจัดการความรู้ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชกรมอู่ทหารเรือ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ กับการดำเนินการจัดการความรู้ ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ บุคลากรของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชกรมอู่ทหารเรือได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ จำนวน 780 คนคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 265 คน โดยใช้สูตรยามาเน่ วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า (1) การดำเนินการจัดการความรู้ของอู่ราชนาวิมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านการบ่งชี้ความรู้ที่องค์การต้องมี อยู่ในระดับ มาก 2) ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ อยู่ในระดับ มาก 3) ด้านการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ อยู่ในระดับมาก 4) ด้านการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ อยู่ในระดับ มาก 5) ด้านการเข้าถึงความรู้ อยู่ในระดับมาก6) ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ อยู่ในระดับ มาก และ 7) ด้านการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มาก (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและเพื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านการเตวียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก 2) ด้านภาวะผู้นำ อยู่ในระดับมาก 3) ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ อยู่ในระดับ มาก 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก 5) ด้านกระบวนการและเครื่องมือการจัดการความรู้ อยู่ในระดับ มาก 6) ด้านการฝึกอบรมและการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 7) ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับ มาก 8) ด้านการยกย่องชมเชย และการให้รางวัลอยู่ในระดับมาก และ 9) ด้านการวัดผลการจัดการความเอยู่ในระดับ มาก (3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำ ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ด้านการฝึกอบรมและการเรียนรู้ ด้านการสื่อสาร และด้านการยกย่องชมเชย และการให้รางวัล มีความสัมพันธ์กับการดำเนินการจัดการความรู้ ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7062 |
Other Identifiers: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143289.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License