กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7065
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแนวทางการจับจังหวะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a market timing approach in the Stock Exchange of Thailand using technical analysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กัลยานี ภาคอัต คมวุธ วิศวไพศาล, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อภิญญา วนเศรษฐ ชยงการ ภมรมาศ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย--การลงทุน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) พัฒนาแนวทางการตัดสินใจเพื่อการจับจังหวะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค (3) พัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และ (4) ศึกษาและเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจากการจับจังหวะลงทุนทั้งก่อนและหลังการ คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิจัยนี้ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือในการจับจังหวะลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุด โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจที่กำหนดขึ้นมาทดสอบกับข้อมูลราคาปิดรายวันของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 38 ปี ตั้งแต่วันแรกที่ทำการซื้อขาย สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตามระยะเวลาต่างๆ เพื่อกำหนดสัญญาณซื้อขาย หลักทรัพย์ เปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงของระหว่างเกณฑ์การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในทุกสภาวะตลาดกับกลยุทธ์การซื้อและถือครองในช่วงเวลาเดียวกัน การทดสอบประสิทธิภาพระดับต่ำของตลาดหลักทรัพย์ใช้วิธีวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาด้วยสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัยพบว่า (1) การจับจังหวะลงทุนโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ธรรมดาที่เหมาะสมในช่วง 15 วัน ถึง 50 วัน สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากลยุทธ์การซื้อและถือครองได้อย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความสามารถในการลดความสูญเสียมูลค่าเงินลงทุนในสภาวะตลาดขาลง (2) ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำให้ผลตอบแทนจากการจับจังหวะลงทุนลดลงในสัดส่วนที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ๆมีระยะเวลาสั้นกว่า 10 วัน ในการจับจังหวะลงทุนทำให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนเกินปกติได้ และ(3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขาดประสิทธิภาพในระดับต่ำ ทำให้แนวทางการจับจังหวะลงทุนดังกล่าวสามารถสร้างกำไรเกินกว่าปกติในระยะยาวได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7065 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
143349.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License