กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7069
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกั
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting members' selecting decision on loan services of Don Chedi Agricultural Cooperative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐนนท์ ใบยา, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สินเชื่อเกษตร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อบริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด 2) ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด 3) ศึกษาปัจจัยทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด และ 4) เปรียบเทียบปัจจัยทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านบริการสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ สมาชิกผู้ใช้บริการด้านสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด จำนวน 1,423 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 315 คน และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงพหุคูณด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา พบว่า 1) ทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อบริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมาชิกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านสินเชื่อของสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียง 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ และด้านราคา 3) ปัจจัยด้านทัศนคติไม่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของสหกรณ์ แต่ส่วนประสมการตลาดส่งผลต่อการใช้บริการด้านสินเชื่อ โดยปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด ได้แก่ ด้านสถานที่รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ 4) สมาชิกที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการบริการสินเชื่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสมาชิกที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7069
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_164028.pdfเอกสารฉบับเต็ม16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons