Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศิริชัย พงษ์วิชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมารีนา มาหมื่น, 2520--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-03T02:15:06Z-
dc.date.available2023-07-03T02:15:06Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7070-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวน ยางพาราในจังหวัดชุมพร (2) ส่วนประสมการตลาดของปุ๋ยอินทรีย์ตามความคิดเห็นของชาวสวนยางพารา ในจังหวัดชุมพร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของ ชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ชาวสวนยางพาราที่พักอาศัยอยู่ ในพื้นที่ที่ปลูกยางพาราและซื้อปุ๋ยอินทรีย์ในจังหวัดชุมพร เลือกตัวอย่างโดยวิธีตามสะดวกในพื้นที่ ที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในจังหวัดชุมพร 4 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว อำเภอสวี และอำเภอเมือง กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง จากการใช้ตารางของยามาเน่ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยอาศัยสถิติวิเคราะห์เชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุ 31 – 40 ปี การศึกษา ระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท และมีพื้นที่ในการปลูกยางพารา ไม่เกิน 20 ไร่ มีพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์คือซื้อปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใช้ในสวนยางพาราของตนเองจากร้านขาย ปุ๋ย/ตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยที่อยู่ใกล้สวนยางพาราซื้อปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 2 ครั้ง ประมาณ 1– 2 ตันต่อครั้งๆ ละ ประมาณ 10,001 – 20,000 บาท โดยช่วงเวลาที่ซื้อปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุดคือช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม และตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ด้วยตนเองเป็นหลักส่วนสาเหตุที่ซื้อปุ๋ยอินทรีย์ก็คือปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไม่ให้ดินเสีย และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี (2) ส่วนประสมการตลาดของปุ๋ยอินทรีย์ตามความคิดเห็นของ ชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร พบว่า ชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร ให้ความสำคัญต่อปัจจัย ด้านการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านราคา ลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัย ด้านการส่งเสริมการตลาด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดด้านการจัดจำหน่ายมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.401en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectปุ๋ยอินทรีย์th_TH
dc.subjectชาวสวนยาง -- ไทย -- ชุมพรth_TH
dc.subjectเกษตรกร -- ไทย -- ชุมพรth_TH
dc.subjectเกษตรกร -- การตัดสินใจth_TH
dc.titleพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativePurchasing behaviiorof organic fertilizers of rubber farmers in Chumporn Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were (1) to study the purchasing behavior of organic fertilizers of rubber farmers in Chumporn province; (2) to examine marketing mix factors of organic fertilizers based on the opinion of the rubber farmers in Chumporn province; and (3) to investigate the relationship between marketing mix factors and the purchasing behavior of organic fertilizers of rubber farmers in Chumporn province. The study was a survey research. The population was the rubber farmers living in the rubber farm areas and buying organic fertilizers in Chumporn province. The samples were 200 rubber farmers selected by using convenience sampling method from four districts which planted the high volume of rubber respectively: Tha Sae district, Pathew district, Sawee district and Muang Chumporn district and also using Yamane’s formula at the statistically significant 0.05 level. The questionnaire was used for data collection. The data was analyzed by using both descriptive statistics: percentage, mean, and standard deviation and inferential statistical analysis: chi-square. The results showed that (1) most of the respondents were male, aged 31 - 40, primary education, income 15,000 -30,000 baht. They owned rubber planting areas less than 20 acres. Bio-organic fertilizers were bought from fertilizer shops or dealers near rubber planting areas. The respondents bought one or two tons of organic fertilizers which costed 10,001 – 20,000 baht. They were bought twice a year and the high demand was in May and July. The respondents made decision by themselves to buy organic fertilizers because of the needs for improving soil structure, preventing soil loss and also increasing productivity; (2) place, product, price, and promotion factors were important respectively; and (3) place factor was related to the purchasing behavior of organic fertilizers of rubber farmers in Chumporn province at the statistically significant 0.05 levelen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144237.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons